Teaching supervision / โครงการ “เสริมพลังการเรียนรู้ สู่ครูมืออาชีพ (Learning Empowerment)”

 

วัถตุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสร้างเสริมพลังการเรียนรู้ (Learning Empowerment)ให้แก่บุคลากรใหม่ และบุคลากรที่มีอายุงาน 1 ปีโดยมีผลการประเมินการสอนต่ำกว่า 3.51
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยใช้ระบบพี่เลี้ยงและนิเทศติดตามผล (Coaching & Monitoring system)
3. การแสวงหารูปแบบการเสริมพลังร่วมกันระหว่างบุคลากรใหม่และเก่า (Best practice)

ลักษณะการปฏิบัติงาน
1. การสรรหาอาจารย์พี่เลี้ยง (อาจารย์เก่า) ที่สอนในรายวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียง โดยมีผลการประเมินโดยนักศึกษา ผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2. อาจารย์ใหม่ sit in อาจารย์รุ่นพี่ (ที่สอนในรายวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียง) เพื่อการเรียนรู้ด้านเทคนิคการสอน การพัฒนาและปรับปรุงการสอน อันนำไปสู่การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างพี่กับน้อง
3. การสนทนากลุ่ม (Focus Group) อาจารย์ใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการนิเทศการสอนการ สรุปข้อสังเกตเพื่อก่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาตนเอง
4. การพัฒนาศักยภาพโดยการเสริมพลังการเรียนรู้ (Learning Empowerment) โดยใช้ระบบพี่เลี้ยงและนิเทศการสอนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (โดย มีระยะเวลาห่างกัน 1 เดือน) ร่วมกับสำนักวิชาการและหัวหน้าสาขา ซึ่งนำไปสู่ความเป็นเจ้าของในสร้างวิสัยทัศน์และพันธกิจร่วมกัน
5. การแสวงหารูปแบบการเสริมพลังร่วมกันระหว่างอาจารย์เก่าและอาจารย์ใหม่โดยกระบวนการมีส่วนร่วมอันนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดี (Best practice)

ตารางเวลาการจัดโครงการ “เสริมพลังการเรียนรู้ สู่ครูมืออาชีพ (Learning Empowerment)

กิจกรรมการดำเนินงาน ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
1. การสรรหา อาจารย์พี่เลี้ยง และจัดทำคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์พี่เลี้ยงตลอดจนเสนออนุมัติโครงการ
– โดยอาจารย์พี่เลี้ยง(อาจารย์เก่า)มี่สอนในรายวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันมีผลการประเมินของนักศึกษา             และผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
มิถุนายน
พฤศจิกายน
2. นัดประชุมและแนะแนวอาจารย์พี่เลี้ยงที่ได้รับการแต่งตั้ง
– โดยชี้แจงเอกสารที่เกี่ยวข้อง
มิถุนายน
พฤศจิกายน
3. แจ้งอาจารย์ใหม่ Sit in อาจารย์พี่เลี้ยง ครั้งที่ 1
    – เพื่อการเรียนรู้เทคนิคการสอน
    – เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการสอน
    – เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง
มิถุนายน
พฤศจิกายน
4. การนิเทศการสอน ครั้งที่ 1  โดยสำนักวิชาการร่วมกับหัวหน้าสาขา และอาจารย์พี่เลี้ยง
– เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการสอนของอาจารย์ใหม่
– เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง
กรกฏาคม
ธันวาคม
5. Focus Group อาจารย์ใหม่และอาจารย์พี่เลี้ยงครั้งที่ 1
– เพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนการนิเทศการสอนครั้งที่ 2
– เพื่อได้ข้อสังเกตจากการ sit in (Best practice) เช่นจุดแข็ง จุดควรพัฒนาและแนวทางในการพัฒนาตนเอง
กรกฏาคม
ธันวาคม
6. แจ้งอาจารย์ใหม่ Sit in อาจารย์พี่เลี้ยงหรืออาจารย์รุ่นพี่  ครั้งที่ 2
    – เพื่อการเรียนรู้เทคนิคการสอน
    – เพื่อหาแนวปฏิบัติให้เกิดแนวทางในการพัฒนาตนเอง
สิงหาคม
มกราคม
7. การนิเทศการสอนครั้งที่ 2 พร้อมบันทึกการสอนรูปแบบ VDO
– เพื่อได้แนวทางในการพัฒนาอาจารย์ใหม่ร่วมกันระหว่าง สำนักวิชาการ / หัวหน้าสาขา/อาจารย์พี่เลี้ยง
– เพื่อการเสริมแรงกำลังใจจากอาจารย์พี่เลี้ยง
– เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างพี่กับน้อง
– สำนักวิชาการ / หัวหน้าสาขา/อาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อหาข้อสรุปในการพัฒนา/ปรับปรุงร่วมกันระหว่าง
กันยายน
กุมภาพันธ์
8. Focus Group อาจารย์ใหม่และอาจารย์พี่เลี้ยง ครั้งที่ 2
– เพื่อได้ข้อสังเกตจากการ sit in (Best practice) เช่นจุดแข็ง จุดควรพัฒนาและแนวทางในการพัฒนาตนเอง
กันยายน
กุมภาพันธ์
9. สรุปโครงการ และการประเมินตนเอง /ประเมินโครงการ
– ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงโครงการต่อไป
กันยายน
กุมภาพันธ์